วันศุกร์ที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

การมอบตัวเป็นศิษย์


การมอบตัวเป็นลูกแม่รำเพย
              การมอบตัวเป็นลูกแม่รำเพยเป็นสิ่งที่นักเรียน โรงเรียนเทพศิรินทร์ เชียงใหม่ ต้องทำกันทุกคน เมื่อต้องการมาศึกษาต่อในโรงเรียนเทพศิรินทร์ เชียงใหม่ ซึ่งถือเป็นประเพณีของโรงเรียนเทพศิรินทร์ เชียงใหม่  ที่ทำกันสืบต่อมายาวนานจนถึงปัจจุบัน
 


 กิจกรรมในวันมอบตัวเป็นลูกแม่รำเพย
กิจกรรมก็จะมีหลากหลาย กิจกรรมแรกที่รุ่นพี่ต้อนรับรุ่นน้องก็คือการบูม ซึ่งการบูมจะเป็นเอกลักษณ์ของโรงเรียนเทพศิรินทร์ เชียงใหม่ ต่อจากการบูมก็จะเป็นการเดินลอดซุมธง กิจกรรมนี้เพื่อเป็นเกิยติแก่รุ่นน้องทุกคน หลังจากลอดซุมธงก็จะเป็นพิธีมอบตัวเป็นลูกแม่รำเพย พร้อมกับมอบตัวเป็นศิษย์



              พิธีที่สำคัญที่สุดในวันนี้คือ การขอตัวเป็นศิษย์จากคุณครูที่สอน ซึงจะมีการมัดมือและมีการซื่อวิชาจากครูผู้สอน นักเรียนจะมอบเงินให้ครูเป็นจำนวนเท่าไรก็ได้ เมือนักเรียนมอบเงินแล้วคุณครูก็จะทอนมาให้ 1 บาท เป็นอันเสร็จพิธีมอบตัวเป็นศิษย์






ดอกทานตะวัน



              

               ทานตะวันเป็นพืชน้ำมันที่สำคัญทางเศรษฐกิจรองจากถั่วเหลือง และปาล์มน้ำมัน ทานตะวันค่อนข้างทนแล้งได้ดี เมื่อเปรียบเทียบกับพืชไร่ชนิดอื่น เช่น ข้าวโพด ถั่วเหลือง และถั่วเขียว เมล็ดทานตะวันมีคุณค่าทางโภชนาการสูง ส่วนกากที่ได้หลังจากสกัดน้ำมันแล้วมีโปรตีน 40-50 เปอร์เซ็นต์ น้ำมันทานตะวันมีกรดไขมันไม่อิ่มตัวประมาณ 88 เปอร์เซ็นต์ สูงกว่าถั่วเหลือง และน้ำมันปาล์ม และมีสาร antioxidants กันหืนได้ดีสามารถเก็บไว้ได้นานกว่าน้ำมันพืชชนิดอื่น เนื่องจากน้ำมันทานตะวันมีคุณค่าสูง จึงเป็นที่ต้องการของตลาดทั้งในและต่างประเทศเพื่อการบริโภค และใช้ในอุตสาหกรรมเช่น น้ำมันชักเงา น้ำมันหล่อลื่น สีทาบ้าน ส่วนลำต้นทานตะวันสามารถนำไปทำกระดาษคุณภาพดี



การปลูก
              • ดินเหนียวสีแดง ให้ปุ๋ยสูตร 20-20-0 อัตรา 50 กิโลกรัมต่อไร่ แบ่งใส่ 2 ครั้ง ครั้งแรกใส่พร้อมปลูก (รองก้นร่อง หรือก้นหลุม) 25 กิโลกรัม และให้ครั้งที่สองอีก 25 กิโลกรัมเมื่อทานตะวันอายุ 20-25 วันหลังงอก

การเก็บเกี่ยว
เก็บเกี่ยวทานตะวันตามช่วงอายุของพันธุ์ที่ปลูก หรือเมื่ออายุประมาณ 90- 120 วัน หรือหลังจากจานดอกเริ่มเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลแล้วประมาณ 7-14 วัน โดยใช้กรรไกรตัดจานดอก โดยเลือกเฉพาะดอกที่สมบูรณ์

วันอาทิตย์ที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

พระนางจามเทวี

ประวัติพระนางจามเทวี
  
                        ชาติกำเนิดของพระองค์นั้น ในตำนานจามเทวีวงศ์และตำนานมูลศาสนากล่าวว่าทรงเป็นพระราชธิดาของกษัตริย์แห่งกรุงละโว้ แต่ตำนานมุขปาฐะพื้นบ้านแห่งหนึ่งกล่าวว่า พระองค์เป็นธิดาของคหบดีชาวหริภุญชัยซึ่งมีเชื้อสายชาวเมง (ตำนานเรียกว่า เมงคบุตร) อาศัยอยู่ในพื้นที่ที่ปัจจุบันเป็นหมู่บ้านหนองดู่ อำเภอป่าซาง จังหวัดลำพูน พระนางจามเทวีเมื่อแรกประสูติไว้ว่าตรงกับวันพฤหัสบดี ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 5 ปีมะโรง พ.ศ. 1176 เวลาจวนจะค่ำ ขณะเมื่อพระนางยังมีพระชนม์ได้ 3 เดือนนั้น มีนกยักษ์ตัวหนึ่งโฉบเอาพระนางขึ้นไปบนฟ้า เมื่อนกนั้นบินผ่านหน้าสุเทวฤๅซึ่งบำเพ็ญตบะอยู่ ณ เขาอุจฉุตบรรพต (แปลว่าเขาไร่อ้อย เชื่อว่าคือดอยสุเทพในปัจจุบัน) ท่านจึงได้แผ่เมตตาจิตให้นกนั้นปล่อยทารกน้อยลงมา แล้วรับเอาเด็กนั้นเป็นบุตรบุญธรรม พร้อมทั้งตั้งชื่อให้ว่า นางวี ด้วยถือเอานิมิตที่พระฤๅษีใช้พัด (ภาษาถิ่นเรียกว่า "วี") รองรับพระนางเนื่องจากพระฤๅษีอยู่ในสมณเพศ ไม่อาจถูกตัวสตรีได้ ต่อมาพระนางได้ร่ำเรียนสรรพวิชาการต่างๆ จากสุเทวฤๅษี
                              
ท่านสุเทวฤๅษีจึงได้ผูกดวงและตรวจสอบชะตา ทราบว่ากุมารีผู้เป็นบุตรบุญธรรมของท่านจะมีวาสนาเป็นถึงจอมกษัตริย์ ปกครองบ้านเมืองอันใหญ่โตซึ่งจะรุ่งเรืองไปในภายภาคหน้า จึงตกลงใจว่าจะต้องส่งเด็กหญิงไปสู่ราชสำนักเพื่อรับการอภิเษกขึ้นเป็นเชื้อพระวงศ์ให้สมควรแก่การที่จะได้เป็นใหญ่ต่อไป และที่เหมาะสมในสายตาท่านฤๅษีคือ ราชสำนักแห่งกรุงละโว้ ซึ่งเป็นราชสำนักที่เจริญรุ่งเรืองที่สุดแห่งหนึ่งในสุวรรณภูมิเวลานั้น
จนกระทั่งเมื่อพระนางมีพระชนมายุได้ 13 พรรษา ท่านสุเทวฤๅษีจึงได้เนรมิตแพขึ้น ส่งกุมารีน้อยล่องไปตามน้ำจากเมืองเหนือ โดยพญากากะวานรและบริวารจำนวน ๓๕ ตัวโดยสารแพไปด้วย อีกทั้งยังฝากหนังสือไปฉบับหนึ่งเพื่อกราบทูลพระเจ้ากรุงละโว้ (ลวปุระ) ว่ากุมารีน้อยนี้จะไปช่วยละโว้ประหารศัตรู เด็กหญิงและวานรทั้งหลายล่องตามลำน้ำไปเป็นเวลานานหลายเดือนจึงเข้าสู่เขตกรุงละโว้ ประชาชนชาวละโว้สองฝั่งลำน้ำได้โจษขานถึงแพเล็กๆ นี้ด้วยความประหลาดใจครั้นถึงท่าน้ำหน้าวัดชัยมงคล แพเนรมิตก็มิได้ล่องตามน้ำต่อไปกลับลอยวนเวียนอยู่บริเวณนั้น ประชาพลเมืองได้เห็นต่างโจษขานกันอึงคนึง บ้างก็เข้าไปพยายามดึงนาวาเข้าฝั่ง แต่ก็ไม่เป็นผลสำเร็จ ชาวบ้านเห็นเหตุเป็นอัศจรรย์และต่างพากันชื่นชมเด็กหญิงซึ่งมีผิวพรรณผุดผ่องน่ารักน่าเอ็นดูอย่างยิ่ง ความทราบถึงบรรดาขุนนาง จึงได้ไปตรวจดูที่ฝั่งน้ำ เห็นความจริงประจักษ์แก่ตาจึงรีบกลับเข้าพระราชวังกราบบังคมทูล พระเจ้าจักวัติ ผู้ครองกรุงละโว้ ให้ทรงทราบ


                             เจ้าแผ่นดินกรุงลวปุระได้เสด็จไปยังท่าน้ำหน้าวัดชัยมงคลพร้อมด้วยมเหสีในทันทีนั้น เมื่อได้ทอดพระเนตรเห็นความเป็นไปทั้งหมด พระองค์ทรงมีรับสั่งให้ทหารที่ตามเสด็จชะลอแพเนรมิตเข้าสู่ฝั่ง แต่เหตุการณ์อันไม่มีใครคาดคิดก็บังเกิดขึ้นอีกครั้งหนึ่ง กำลังของเหล่าทหารแห่งกรุงลวปุระไม่อาจชักลากแพเข้าสู่ท่าน้ำได้ ไม่ว่ากษัตริย์จะมีพระบัญชาให้เพิ่มจำนวนทหารมากขึ้นสักเท่าใดก็ตาม การณ์อันเป็นไปโดยอัศจรรย์ดังนี้ ทำให้เจ้าแผ่นดินทรงประจักษ์แจ้งแก่พระปรีชาญาณว่า กุมารีแรกรุ่นในท่ามกลางฝูงวานรบนแพนี้คงจะเป็นผู้มีบุญญาธิการมากมาย และแพนั้นก็คงจะเป็นแพวิเศษที่สามัญชนจะไปแตะต้องมิได้ พระองค์จึงเสด็จจากที่ประทับพร้อมด้วยพระมเหสีและทรงยึดเชือกที่ผูกแพนั้นไว้ด้วยพระหัตถ์ของทั้งสองพระองค์
                                และแล้วเหตุอัศจรรย์ก็บังเกิดขึ้นอีกเป็นคำรบสาม พระเจ้ากรุงลวปุระและพระมเหสีเพียงแต่ทรงชักเชือกนั้นด้วยแรงเฉพาะสองพระองค์ แพวิเศษก็ลอยเข้าสู่ท่าน้ำได้โดยง่าย และดูราวกับเทพยดาฟ้าดินจะทรงอำนวยพรให้แก่ประพฤติเหตุอันอัศจรรย์นี้ เพราะเมื่อแพวิเศษลอยเข้าเทียบท่าน้ำ ได้มีฝนโปรยปรายเป็นละอองบางเบา ยังความสดชื่นแก่ทุกคนในที่นั้น ประชาชนทั้งสองฝั่งลำน้ำได้เห็นต่างก็พากันชื่นชมพระบารมีของทั้งสองพระองค์ และสรรเสริญบุญญานุภาพของกุมารีน้อยไปทั่วทั้งพระนคร

พระธาตุหริภุญชัย
          
                       พระเจ้ากรุงละโว้และพระมเหสีได้รับกุมารีน้อยไว้ด้วยความเสน่หาอย่างยิ่ง พระมเหสีนั้นถึงกับเสด็จเข้าไปสวมกอดและจุมพิตกุมารีตั้งแต่แรกขึ้นสู่ฝั่ง พระเจ้ากรุงละโว้ผู้เต็มไปด้วยความปิติในพระหฤทัยได้ทรงน้ำกุมารีผู้น่ารักขึ้นประทับบนราชรถ และต่างพากันเสด็จเข้าสู่ราชสำนักกรุงละโว้ท่ามกลางประชาชนที่มาเฝ้าชมพระบารมีสองข้างทางด้วยความชื่นชมยินดีโดยทั่วหน้าและได้ตั้งพระนามให้ใหม่ว่า พระนางจามเทวี